Background



ภาพกิจกรรม
ร่วมสืบสานประเพณีหล่อเทียนพรรษา ประจำปี 2567
109
16 กรกฎาคม 2567

🕯✨องค์การบริหารส่วนตำบลลำเลียง ร่วมสืบสานประเพณีหล่อเทียนพรรษา ประจำปี 2567🕯✨

ในวันที่ 16 กรกฏาคม 2567 นายเธียรชัย สายน้ำใส นายกองค์การบริหารส่วนตำบลลำเลียง พร้อมด้วยคณะผู้บริหาร สมาชิกสภาฯ คณะครู เจ้าหน้าที่ และนักเรียนสังกัดศูนย์พัฒนาเด็กเล็กองค์การบริหารส่วนตำบลลำเลียง เข้าร่วมประเพณีหล่อเทียนพรรษา ประจำปี 2567 ณ ที่พักสงฆ์สุวรรณรัตนาราม (ถ้ำพระขยางค์)

⁉️ ทำไมถึงต้องมีการหล่อเทียนเมื่อถึงเวลาพระเข้าพรรษา❓❓

พิธีหล่อเทียนพรรษาและถวายเทียนเป็นพิธีทางพระพุทธศาสนา เกิดขึ้นเมื่อมีการเข้าพรรษา จุดหมายของการถวายเทียนพรรษาคือการ บูชาพระรัตนตรัย โดยมุ่งหวังอานิสงค์ในการบรรดาลความสุข การมีสติปัญญาสว่างไสว ชีวิตรุ่งโรจน์สดใสดุจแสงไฟจากแท่งเทียนที่ส่องสว่าง สำหรับการทำเทียนถวายช่วงเทศกาลเข้าพรรษามีมาช้านานพอๆกับประเพณีหล่อและถวาย เหตุผลที่ต้องหล่อขึ้น เป็นเรื่องทางประชาธิปไตยและความเท่าเทียมกันในสังคมอย่างหนึ่ง แน่นอนเศรษฐีย่อมมีโอกาสเข้าถึงเทียนดีๆ ราคาแพงๆ ไม่ต้องหล่อถวายก็ได้ การหล่อเทียนพรรษาเป็นกุศโลบายแห่งความสามัคคีให้คนมาร่วมกันทำบุญ โดยไม่จำกัดชั้นวรรณะ ฐานะทางสังคม มีมากทำมาก มีน้อยทำน้อย ได้เทียนต้นเดียวกัน เทียนพรรษาในสมัยโบราณถึงจะร่วมกันหล่อร่วมกันทำก็มีขนาดไม่เท่ากับทุกวันนี้ ด้วยเหตุผลของการใช้งานที่จะกระจายไปให้พระใช้อ่านหนังสือ สวดมนต์ ฯลฯ ยุคปัจจุบัน นิยมของใหญ่ ศรัทธา สามัคคีเลยโดยแปลงเป็นศรัทธาถ้าใหญ่ๆ ก็จะดี เอาเถิด จะใหญ่จะเล็กหรือจะถวายหลอดไฟฟ้า ก็เป็นการสร้างแสงสว่างเช่นเดียวกัน อานิสงค์ของการบังเกิดความสว่างในจิตใจและชีวิตย่อมบังเกิด

การหล่อเทียน เดิมนั้นทำอะไรบ้าง คนสมัยก่อนจะพิถีพิถันกับของถวายพระ ไม่ตักๆ หยอดๆ ให้เสร็จๆ ไป จะมีพิธีกรรมในการหล่อเทียน ที่ค่อนข้างจะซับซ้อนพิถีพิถัน มีขั้นตอนและวิธีปฏิบัติที่คล้ายคลึงกัน อันดับแรก ก่อนที่จะทำการหล่อเทียนจะมีการจัดเตรียมวัสดุอุปกรณ์ เช่น ขี้ผึ้ง ไส้เทียน เบ้าหลอม กระทะ เป็นต้น เมื่อจัดเตรียมแล้วจึงตั้งเตาอั้งโล่และกระทะขี้ผึ้ง ใกล้ ๆ กันนั้นจะเป็นเบ้าหลอมที่มีไส้เทียนขึงอยู่ส่วนกลางของเบ้าหลอม ในส่วนด้านปากของเบ้าหลอมอาจมีแท่นหรือบันไดให้คนขึ้นไปเทเทียนเหลวเพื่อหล่อได้โดยสะดวก จากนั้นจึงขัดรั้วทำเป็นราชวัตรล้อมรอบบริเวณเบ้าหลอมนั้นให้เป็นปริมณฑล เฉพาะรั้วราชวัตรจะมีทางเข้าทั้งสี่ด้าน มุมของรั้วจะประดับประดาด้วยฉัตรและธงทิว รอบๆรั้วมีการนำเอาต้นกล้วย ต้นอ้อย ต้นข่า มาประดับด้วย เมื่อถึงเวลาหล่อเทียนมักนิมนต์พระสงฆ์จำนวน 9 รูป มาทำพิธีสวดชัยมงคลคาถา โดยขณะที่ประธานในพิธีขึ้นไปเริ่มหล่อเทียนเหลวลงในเบ้า พระสงฆ์จะเริ่มสวดและสวดไปเรื่อย ๆ เมื่อคนอื่น ๆ ที่มาร่วมพิธีตักขี้ผึ้งหล่อตามกันไป หลังจากที่เทียนเย็นสนิทและแข็งตัวแล้ว จะถูกแกะออกจากเบ้าเพื่อนำไปแกะสลักหรือตกแต่งให้สวยงามจนได้เวลาเหมาะสมจึงจัดริ้วขบวนแห่เทียนไปถวายที่วัดต่อไป

ข้อมูลจาก บทความ โดย อาจารย์สนั่น ธรรมธิ สำนักส่งเสริมศิลปวัฒนธรรม มช.

#รักลำเลียง

#ที่นี่ลำเลียง

...............................

ติดตามข้อมูลข่าวสาร Website: www.lumliang.go.th

แฟนเพจเฟชบุ๊ก Facebook: อบต.ลำเลียง จังหวัดระนอง

ติดต่อสอบถาม 077860644 ต่อ 103☎️☎